sa'lahmade

งานหัตถกรรม

งานหัตถกรรม

      สล่า หรือช่างฝีมือ ผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ผลงานของสล่า สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทาง ด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ประเพณี ความเชื่อ ทรัพยากร ไปจนถึงวิถีชีวิตของชาวเหนือ ที่สืบทอดและสร้างสรรค์ชิ้นงานคราฟต์ ที่มีอยู่มากมายหลายแขนง ออกมาได้อย่างโดดเด่น ใช้งานได้จริง และยังแฝงบริบทจากท้องถิ่นถ่ายทอดลงไปในชิ้นงานนั้นๆ 

สล่า-ผู้ผลิต

ดอยดินแดง เป็นดินแดนแห่งศิลปะเครื่องปั้นดินเผาที่เริ่มจากผืนดินว่างเปล่าของ อาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ ผู้ให้นิยามตัวเองว่าเป็นช่างปั้น (Potter) แม้ว่าในความเป็นจริงจะเป็นทั้งศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ เป็นทั้งครู ผู้ถ่ายทอดวิชาเครื่องปั้นดินเผา และเป็นช่างฝีมืองานคราฟต์ที่ผลิตผลงานเพื่อรับใช้ผู้คนมามากมาย
Wicker Thailand คือแบรนด์กระเป๋าสานและของแต่งบ้าน งานทำมือฝีมือคนไทยที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติของ ส้ม-พิสุทธินี สงวนรักษ์ ทายาทธุรกิจเก่าแก่ในบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่ แตกแบรนด์ออกมาคิดเอง ทำเอง ภายใต้แนวคิดที่มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น
Slowstitch Studio คือ สตูดิโอออกแบบและผลิตงานผ้าย้อมสีธรรมชาติ ของคุณแอน - กรรณชลี งามดำรงค์ และคุณเซิร์จ - Sergey Tishkin พาร์ตเนอร์ชาวรัสเซีย 2 หนุ่มสาวนักออกแบบ ที่ค้นพบว่าตัวเองหลงใหลการย้อมผ้า ด้วยเทคนิคชิโบริและสนุกไปกับการทดลองรังสรรค์ลายใหม่ๆ บนผืนผ้า
วันนี้เราหลบลมร้อน ไปพูดคุยกับ รศ.วาสนา สายมา หรือ อ.วาด ในบ้านที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ และเมื่อได้เข้าไปในห้องทำงานของอาจารย์ ได้เห็นงานฝีมือจากไม้ไผ่ที่หลากหลาย ทุกชิ้นเป็นงานฝีมือที่ละเอียดอย่างน่าทึ่งและงานบางชิ้นทำให้เรานึกย้อนไปถึงบรรยากาศบ้านและวัดในชนบทตอนเด็กๆ ต่างกันแค่งานที่เราเคยเห็นเป็นดอกไม้สด แต่ของอาจารย์วาดเป็นดอกไม้ที่ทำมาจากไม้ไผ่หรือตอก ข้างฝาเต็มไปด้วยแผงตัวอย่างชิ้นงานไม้ไผ่ที่สานออกมาเป็นดอกไม้ในขนาดต่างๆ เรียงจากเล็กไปใหญ่ บางอย่างมีถึง 18 ขนาด มีกล่องบรรจุชิ้นงานแยกประเภทไว้อย่างเป็นระเบียบ มีทั้ง นก เต่า ปู ปลาตะเพียน กุ้ง กบ เพื่อรอการนำมาประกอบกันเป็นชิ้นงานต่างๆ
แบรนด์ “อุ๊ก” ก่อตั้งในปี 2560 โดยคุณวิไล ไพจิตรกาญจนกุล โดยมีที่มาของแบรนด์เกิดจากธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ที่ฝนตกและมีใบไม้ร่วงบนพื้นจนเก็บกวาดไม่ทัน คุณวิไลสังเกตเห็นว่าใบไม้บางชิ้นได้เน่าเปื่อยจนสีของมันติดแน่นบนพื้นซีเมนต์และล้างไม่ออก
บ้านบูรณ์ คือแบรนด์ไม้กวาดสัญชาติไทยหน้าตาเป็นสากล ที่แตกยอดมาจากธุรกิจครอบครัวของ ตูน-บูรณิตา วิวัฒนานุกูล ทายาทรุ่นที่ 2 ของ สมบูรณ์ผล คราฟท์ ธุรกิจผลิตและส่งออกไม้กวาดหญ้าข้าวฟ่าง ดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 35 แล้ว ในขณะที่บ้านบูรณ์เพิ่งเริ่มต้นในช่วงโควิด
ลำปาง เป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนไปเยือน มีผู้คนที่เป็นมิตร มีตึกรามบ้านช่องที่ยังคงมีกลิ่นอายของความเป็นเมืองเก่าที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของล้านนา เดินทางง่าย ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงจากเชียงใหม่ ที่นี่ยังเป็นแหล่งรวมตัวของคนทำงานคร้าฟต์ที่หลากหลาย
“อยากให้คนที่ได้งานเรา มีความสุขในทุกๆ วัน” ความสดใสเมื่อได้พบกับ ออม-นฤภร ชวาลทัต เจ้าของแบรนด์ นารุ เซรามิก ในช่วงสายของวัน แสงแดดกำลังอบอุ่น แต่ฟ้าใส ทำให้นึกถึงดอกไม้หลากสีสัน รอยยิ้มจริงใจ สายตามุ่งมั่น คือความมหัศจรรย์ที่ทำให้เราสดชื่นและตื่นตัวในการพูดคุย
Filligree คือเทคนิคระดับสูงของการทำเครื่องประดับ ที่มีอายุเก่าแก่มากว่า 5,000 ปี ในเมืองไทยจะเรียกว่างานยัดลาย ซึ่งมีความละเอียดอ่อน และมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากมากกว่า 35 ขั้นตอน จนทำให้งานเครื่องประดับยัดลายแทบจะสูญหายไปกับกาลเวลา แต่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว มีครอบครัวชาวจีนที่ได้อพยพมาสู่ดินแดนล้านนา แล้วเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อยู่ที่อำเภอบ้านกาด จังหวัดเชียงใหม่ และได้ถ่ายทอดเทคนิคการทำเครื่องประดับยัดลายให้กับครอบครัวอุปนันท์ โดยมีคุณพ่อพงษ์มิต อุปนันท์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม พ.ศ. 2559 และบุตรชายคือคุณอังคาร อุปนันท์ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี พ.ศ. 2558 ที่มองเห็นคุณค่าของหัตถศิลป์โบราณ จึงได้เรียนรู้ ฝึกฝนจนชำนาญ สร้างงานที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านกาดนับจากนั้นเป็นต้นมา
ธนบดี คือแบรนด์เซรามิก ของใช้และของแต่งบ้าน ที่ผลิตและส่งออกไปเกือบทั่วโลก และเป็นพิพิธภัณฑ์เซรามิก แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องปักหมุดในลำปาง รวมทั้งบริษัเป็นทผู้พลิกฟื้นชามตราไก่ ที่เกือบสูญหายไปให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ทั้งหมดนี้คืออาณาจักรของคุณพนาสิน ธนบดีสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทในเครือธนบดี ทายาทรุ่นที่ 2 จากธุรกิจเซรามิกเก่าแก่ ที่ผลิตชามตราไก่ในยุคแรกๆ ของลำปาง
สะพรั่ง คือแบรนด์เครื่องประดับทองเหลือง ที่สร้างสรรค์และลงมือทำของคู่รักนักออกแบบ คุณกาเหว่า-สุพจน์ สุวรรณสิงห์ และ คุณริก้า-สิริการย์ จิรัฎฐ์ภาสกรกุล ผู้หยิบยกเอาความงามอันเรียบง่ายจากสิ่งของรอบกาย ถ่ายทอดออกมาเป็นงานคราฟต์ที่เป็นมากกว่าเครื่องประดับ
ชวนหลงเซรามิค หรือเตาชวนหลง คือโรงงานเซรามิกในลำพูน ที่ยังคงขึ้นรูปและวาดลายด้วยมือโดยช่างฝีมือท้องถิ่น ของคุณเก่ง - กิตติกร กาญจนคูหา ทายาทผู้รับช่วงต่อจากคุณอุทัยย์ กาญจนคูหา ศิลปินล้านนาผู้ริเริ่มการอนุรักษ์ศิลปะโบราณด้วยการเลียนแบบให้มีลายเส้นงดงามไม่แพ้ของดั้งเดิม