sa'lahmade

sa'lahmade story

      sa’lahmade ออกเสียงว่า สล่าเมด  โดยมีตัวย่อว่า “สะ” และคำว่า “หล่า” รวมเป็นคำว่า สล่าเมด (“สล่า” หมายถึง ช่างฝีมือในภาษาเหนือ) เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับงานฝีมือและช่างฝีมือจากภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้เรายังมีร้านค้าที่รวบรวมงานคราฟต์ที่อาจช่วยคุณในการออกแบบและจัดหาผลิตภัณฑ์จากภาคเหนือของประเทศไทย

      สล่าเมด (sa’lahmade) เป็นโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลงานศิลปะหัตถกรรมของกลุ่มหัตถกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นการร่วมมือระหว่างยุทธศาสตร์ที่ ๓ ล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่สร้างสรรค์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพันธมิตรอีกมากมาย

ทำความรู้จักสล่าเมด

      สล่าเมดมีชื่อเดิมว่า Handmade Chiang Mai และได้มีการเปลี่ยนชื่อ เพื่อให้มีความรู้สึกที่หยั่งรากลึกไปยังวัฒนธรรมมากขึ้น สล่าเมด มีความโดดเด่นในด้านงานฝีมือที่ครอบคลุมด้วยแนวทางร่วมสมัย รูปภาพ การบอกเล่าเรื่องราว วิดีโอ และการเชื่อมโยงงานฝีมือท้องถิ่นและสืบทอดกับความต้องการและความสนใจของผู้ซื้อ และลูกค้าในยุคปัจจุบัน โดยเราได้มีการพัฒนาเว็บไซต์เดิม และขยายขอบเขตการดำเนิน งานเป็น ๔ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง เพื่อมุ่งส่งเสริมแบบในด้าน digital marketing ผ่านกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเชิงรุก

      โดยมีเว็บไซต์เป็นช่องทางหลักในการเผยแพร่งานหัตถกรรม นักออกแบบ 

ผู้ประกอบการ และช่างฝีมือต่างๆ ที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของช่างฝีมือ 

แรงบันดาลใจของผลิตภัณฑ์ และกรรมวิธีการผลิตที่สอดแทรกความรู้ด้านหัตถกรรม เพื่อถ่ายทอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน ความหลากหลาย และคุณภาพของอุตสาหกรรมหัตถกรรมล้านนา ไม่ว่าจะเป็น สิ่งทอ เซรามิก 

งานไม้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ผ่านการคัดสรรมาเป็นสมาชิกและชุมชนสล่าเมด

 

      หากมีข้อสงสัยหรือต้องการซื้อสินค้า ท่านสามารถติดต่อช่างฝีมือหรือร้านค้าได้โดยตรง หรือหากมีคำถามทั่วไปโปรดติดต่อเรา

พันธมิตรและความเป็นมาของ sa'lahmade

      sa’lahmade เกิดจากความร่วมมือของเชียงใหม่สร้างสรรค์ (CCM) บริติช เคานซิล (ประเทศไทย)

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือเชียงใหม่ (NOHMEX) และสมาชิกโครงการ handmade-chiangmai และได้รับการออกแบบและพัฒนาโดย Artisan Digital โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และเชียงใหม่สร้างสรรค์) และบริติช เคานซิล (ประเทศไทย)

การพัฒนาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดย ….
คุณเปรมฤดี  กุลสุ (Cotton Farm)  คุณโอลิเวอร์ ฮาร์กรีฟ คุณนทพล ณ นคร
และ บ.ข้ามน้ำ ข้ามทะเล 1997 จำกัด  และ บ.  ดูดีอินดีด คอร์ปอเรชั่น จำกัด