sa'lahmade

เชียงใหม่

เชียงใหม่

      หากมองภาพรวมของงานคราฟต์ของแต่ละจังหวัด จะเห็นได้ว่าแต่ละแห่งมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น กล่าวคือ เชียงใหม่ เปรียบดั่งศูนย์กลางของงานหัตถศิลป์หลากหลายแขนงทั้งงานผ้า งานไม้ งานจักสาน งานปั้น เครื่องประดับ ฯลฯ ทั้งแบบดั้งเดิมจากชุมชน หรือรูปแบบประยุกต์จากคนรุ่นใหม่ รวมทั้งมีสตูดิโองานคราฟต์ และชุมชนงานคราฟต์ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งเมือง

สล่า-ผู้ผลิต

Wicker Thailand คือแบรนด์กระเป๋าสานและของแต่งบ้าน งานทำมือฝีมือคนไทยที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติของ ส้ม-พิสุทธินี สงวนรักษ์ ทายาทธุรกิจเก่าแก่ในบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่ แตกแบรนด์ออกมาคิดเอง ทำเอง ภายใต้แนวคิดที่มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น
Slowstitch Studio คือ สตูดิโอออกแบบและผลิตงานผ้าย้อมสีธรรมชาติ ของคุณแอน - กรรณชลี งามดำรงค์ และคุณเซิร์จ - Sergey Tishkin พาร์ตเนอร์ชาวรัสเซีย 2 หนุ่มสาวนักออกแบบ ที่ค้นพบว่าตัวเองหลงใหลการย้อมผ้า ด้วยเทคนิคชิโบริและสนุกไปกับการทดลองรังสรรค์ลายใหม่ๆ บนผืนผ้า
วันนี้เราหลบลมร้อน ไปพูดคุยกับ รศ.วาสนา สายมา หรือ อ.วาด ในบ้านที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ และเมื่อได้เข้าไปในห้องทำงานของอาจารย์ ได้เห็นงานฝีมือจากไม้ไผ่ที่หลากหลาย ทุกชิ้นเป็นงานฝีมือที่ละเอียดอย่างน่าทึ่งและงานบางชิ้นทำให้เรานึกย้อนไปถึงบรรยากาศบ้านและวัดในชนบทตอนเด็กๆ ต่างกันแค่งานที่เราเคยเห็นเป็นดอกไม้สด แต่ของอาจารย์วาดเป็นดอกไม้ที่ทำมาจากไม้ไผ่หรือตอก ข้างฝาเต็มไปด้วยแผงตัวอย่างชิ้นงานไม้ไผ่ที่สานออกมาเป็นดอกไม้ในขนาดต่างๆ เรียงจากเล็กไปใหญ่ บางอย่างมีถึง 18 ขนาด มีกล่องบรรจุชิ้นงานแยกประเภทไว้อย่างเป็นระเบียบ มีทั้ง นก เต่า ปู ปลาตะเพียน กุ้ง กบ เพื่อรอการนำมาประกอบกันเป็นชิ้นงานต่างๆ
แบรนด์ “อุ๊ก” ก่อตั้งในปี 2560 โดยคุณวิไล ไพจิตรกาญจนกุล โดยมีที่มาของแบรนด์เกิดจากธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ที่ฝนตกและมีใบไม้ร่วงบนพื้นจนเก็บกวาดไม่ทัน คุณวิไลสังเกตเห็นว่าใบไม้บางชิ้นได้เน่าเปื่อยจนสีของมันติดแน่นบนพื้นซีเมนต์และล้างไม่ออก
“อยากให้คนที่ได้งานเรา มีความสุขในทุกๆ วัน” ความสดใสเมื่อได้พบกับ ออม-นฤภร ชวาลทัต เจ้าของแบรนด์ นารุ เซรามิก ในช่วงสายของวัน แสงแดดกำลังอบอุ่น แต่ฟ้าใส ทำให้นึกถึงดอกไม้หลากสีสัน รอยยิ้มจริงใจ สายตามุ่งมั่น คือความมหัศจรรย์ที่ทำให้เราสดชื่นและตื่นตัวในการพูดคุย
Filligree คือเทคนิคระดับสูงของการทำเครื่องประดับ ที่มีอายุเก่าแก่มากว่า 5,000 ปี ในเมืองไทยจะเรียกว่างานยัดลาย ซึ่งมีความละเอียดอ่อน และมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากมากกว่า 35 ขั้นตอน จนทำให้งานเครื่องประดับยัดลายแทบจะสูญหายไปกับกาลเวลา แต่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว มีครอบครัวชาวจีนที่ได้อพยพมาสู่ดินแดนล้านนา แล้วเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อยู่ที่อำเภอบ้านกาด จังหวัดเชียงใหม่ และได้ถ่ายทอดเทคนิคการทำเครื่องประดับยัดลายให้กับครอบครัวอุปนันท์ โดยมีคุณพ่อพงษ์มิต อุปนันท์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม พ.ศ. 2559 และบุตรชายคือคุณอังคาร อุปนันท์ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี พ.ศ. 2558 ที่มองเห็นคุณค่าของหัตถศิลป์โบราณ จึงได้เรียนรู้ ฝึกฝนจนชำนาญ สร้างงานที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านกาดนับจากนั้นเป็นต้นมา
สะพรั่ง คือแบรนด์เครื่องประดับทองเหลือง ที่สร้างสรรค์และลงมือทำของคู่รักนักออกแบบ คุณกาเหว่า-สุพจน์ สุวรรณสิงห์ และ คุณริก้า-สิริการย์ จิรัฎฐ์ภาสกรกุล ผู้หยิบยกเอาความงามอันเรียบง่ายจากสิ่งของรอบกาย ถ่ายทอดออกมาเป็นงานคราฟต์ที่เป็นมากกว่าเครื่องประดับ
Cotton Farm เป็นแบรนด์ผ้าฝ้ายทอมือของคุณกุ้ง - เปรมฤดี กุลสุ ผู้คลุกคลีอยู่กับงานผ้ามากว่า 25 ปี เริ่มจากจุดเล็กๆ เมื่อครั้งไปใช้ชีวิตที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วได้เห็นงานคราฟต์จากประเทศไทยวางขายในห้างสรรพสินค้า ที่นั่น ด้วยคุณค่าที่รู้สึกได้และราคาที่สูงเกินคาด ทำให้เกิดคำถามติดค้างภายในใจ เมื่อกลับมาอยู่เมืองไทย จึงได้นำความคิดนั้นมาบวกกับความชื่นชอบส่วนตัวเรื่องงานฝีมือ จากงานอดิเรกจึงกลายมาเป็นอาชีพในที่สุด
ฮัก คราฟท์ คือแบรนด์ที่เกิดจากความรักของ ฟลุก-ปุญชรัศมิ์ สาลี ที่เธอลงมือทำงานแฮนด์เมดทุกสิ่งด้วยความรักและความหลงใหลส่วนตัว “คนเหนือจะพูดว่า ฮัก ก็คือ รัก นั่นแหล่ะ จุดเริ่มต้นของฮักคราฟท์ ฟลุกมีโอกาสได้เห็นงานหัตกรรมพวกนี้ตั้งแต่เกิดก็เลยมีความผูกพัน
moonler คือแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัยสัญชาติไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ ภูวนาถ ดำรงพร อดีตวิศวกร ที่ผันตัวเองจากงานอดิเรกและความชื่นชอบ มุ่งหน้าสู่เส้นทางหัตถอุตสาหกรรม (Industrial Craft) ซึ่งเป็นการออกแบบและผลิตโดยใช้ภูมิปัญญาผ่านกระบวนการเชิงอุตสาหกรรม
สตูดิโอแน่นหนา เป็นสตูดิโองานคราฟต์ด้านผ้าไทยที่โดดเด่นด้วยการทอผ้ามัดหมี่และย้อมสีธรรมชาติ ก่อตั้งโดย อาจารย์แพทริเซีย ชีสแมน ในปี ค.ศ.1985 ปัจจุบัน คุณลาโมน่า ชีสแมน ผู้เป็นลูกสาวได้เข้ามาช่วยบริหารจัดการกิจการ
คุณแม่พัชรา ศิริจันทร์ชื่น ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปีพ.ศ. 2557 ได้เปิดบ้านซึ่งเป็นทั้งสำนักงานและโชว์รูมบนถนน นันทารามในเวียงเชียงใหม่เป็นครั้งแรก หลังจากปิดมานานเพราะสถานการณ์โควิด-19 ที่นี่เป็นสถานที่รวบรวมการทำงานเครื่องเขินในบริเวณนี้ทั้งหมด แม่พัชเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องเขินให้ฟังว่า