sa'lahmade

เฟอร์นิเจอร์ & ของตกแต่ง

เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง

      งานแกะสลักไม้ ถือเป็นหนึ่งในศิลปกรรมเก่าแก่ของภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งการค้าไม้ชั้นดีมาตั้งแต่อดีต ในยุคก่อนงานไม้ที่มีความประณีตมักเกี่ยวพันกับพุทธศาสนา ก่อนที่จะขยับขยายมาสู่ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม โดยเหล่าสล่าผู้ชำนาญผสมผสานความร่วมสมัยเข้าไปในงานไม้ เป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

สล่า-ผู้ผลิต

วันนี้เราหลบลมร้อน ไปพูดคุยกับ รศ.วาสนา สายมา หรือ อ.วาด ในบ้านที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ และเมื่อได้เข้าไปในห้องทำงานของอาจารย์ ได้เห็นงานฝีมือจากไม้ไผ่ที่หลากหลาย ทุกชิ้นเป็นงานฝีมือที่ละเอียดอย่างน่าทึ่งและงานบางชิ้นทำให้เรานึกย้อนไปถึงบรรยากาศบ้านและวัดในชนบทตอนเด็กๆ ต่างกันแค่งานที่เราเคยเห็นเป็นดอกไม้สด แต่ของอาจารย์วาดเป็นดอกไม้ที่ทำมาจากไม้ไผ่หรือตอก ข้างฝาเต็มไปด้วยแผงตัวอย่างชิ้นงานไม้ไผ่ที่สานออกมาเป็นดอกไม้ในขนาดต่างๆ เรียงจากเล็กไปใหญ่ บางอย่างมีถึง 18 ขนาด มีกล่องบรรจุชิ้นงานแยกประเภทไว้อย่างเป็นระเบียบ มีทั้ง นก เต่า ปู ปลาตะเพียน กุ้ง กบ เพื่อรอการนำมาประกอบกันเป็นชิ้นงานต่างๆ
moonler คือแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัยสัญชาติไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ ภูวนาถ ดำรงพร อดีตวิศวกร ที่ผันตัวเองจากงานอดิเรกและความชื่นชอบ มุ่งหน้าสู่เส้นทางหัตถอุตสาหกรรม (Industrial Craft) ซึ่งเป็นการออกแบบและผลิตโดยใช้ภูมิปัญญาผ่านกระบวนการเชิงอุตสาหกรรม
ภูมิปัญญาของแสงสว่าง โกม หรือ โคม คือเครื่องใช้ในบ้านที่มีความสำคัญจากอดีตจนปัจจุบัน รูปลักษณ์ที่เปลี่ยนไปตามสมัย แต่ประโยชน์ใช้สอยยังคงเดิม ด้วยความคุ้นชินตั้งแต่วัยเยาว์ของ ป่าน -วีรศิษฎ์ ภู่สุวรรณ์ ทำให้หยิบรูปลักษณ์ของโคมล้านนา มาออกแบบใหม่
คุณแม่พัชรา ศิริจันทร์ชื่น ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปีพ.ศ. 2557 ได้เปิดบ้านซึ่งเป็นทั้งสำนักงานและโชว์รูมบนถนน นันทารามในเวียงเชียงใหม่เป็นครั้งแรก หลังจากปิดมานานเพราะสถานการณ์โควิด-19 ที่นี่เป็นสถานที่รวบรวมการทำงานเครื่องเขินในบริเวณนี้ทั้งหมด แม่พัชเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องเขินให้ฟังว่า
DON DESIGNS คือผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านหลากชนิด ตั้งแต่งานชิ้นเล็กชิ้นน้อย ไปจนถึงโคมไฟแขวนเพดาน ขนาดใหญ่ของ คุณดอน - นพพร แก้วหนิ้ว อดีตพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ผู้ตอบโจทย์ไอเดียกลางอากาศของลูกค้าให้กลายเป็นสินค้าที่จับต้องได้จริง
Hearts and Hands คือแบรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวและของตกแต่งบ้านที่ทำจากไม้สัก ภายใต้การดำเนินงานโดยบริษัท V.S.T.Woods Thailand ของ ปาริฉัตร ณ สงขลา และสนัยย์ แก้วไชษา นักออกแบบผู้เปลี่ยนเศษไม้ไร้ค่าให้มีราคาด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์
BOPE (โบเป) คือแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากขยะพลาสติกที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการ Upcycling ของคุณโบ – เปมิกา สุตีคา และคุณตื้อ – ศุภฤกษ์ ทาราศรี คู่รักผู้เริ่มจากปัญหาของตัวเอง จนมองเห็นปัญหาของสิ่งแวดล้อม “เราเริ่มธุรกิจจากการซื้อขายของเก่า แต่เพราะศึกษามาไม่ดีพอและสู้เจ้าใหญ่ไม่ได้ อีกทั้งพบว่า ขยะพลาสติกมีการปนเปื้อน ทำให้ไม่สามารถนำเข้าสู่อุตสาหกรรมได้ ซึ่งของคงค้างใช้ไม่ได้มีเยอะมาก จึงคิดอยากจะเอามาสร้างมูลค่าด้วยตัวเราเอง โดยใช้ความรู้ความสามารถที่มีของเราทั้งคู่”
คุณเพชรรัตน์(เจี๊ยบ) และคุณสุจิต(ตี๋) ฉินยี่ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ “ภูตะวัน” บอกเล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดีว่าชื่อแบรนด์มีที่มาจากชื่อของลูก ซึ่งก่อนที่จะมาเป็นแบรนด์นี้ คุณเจี๊ยบย้อนหลังให้ฟังว่า เธอเติบโตมาในครอบครัวคนทำงานหัตถกรรมตั้งแต่รุ่นคุณปู่ คุณย่า สืบต่อมาจนถึงรุ่นคุณแม่ที่ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ที่บ้านถวาย
จากงานอดิเรกที่มาจากความชอบในเรื่องงานฝีมือ กลายมาเป็นธุรกิจในแบรนด์ที่ชื่อ TIMA แบรนด์เครื่องประดับที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 25 ปี คุณกิตติมา เอกมหาชัย หรือคุณไก่ เล่าให้ฟังว่าหลังจากที่เรียนจบทางด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานด้านการตลาดอยู่ระยะหนึ่ง ได้ลาออกจากงานประจำเพื่อไปดูแลครอบครัว ในช่วงนั้นชอบไปร้านหนังสือที่ World Trade Center
เคยคิดไหมว่าถ้าเรามีวัสดุเหลือใช้ เราจะเอาไปทิ้ง ไปขายร้านรับซื้อของเก่าหรือว่าจะเอาไปทำอะไรต่อ แต่สำหรับชายคนนี้ พิชากร ภูเขียว หรือน็อต เป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของวัสดุเหลือใช้ จึงหยิบจับมันมาสร้างสรรค์งานคราฟต์ได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว มาติดตามเรื่องราวของเขากันว่าเขาคิดอย่างไรถึงนำสิ่งเหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลงาน
เมื่อนึกถึงงานไม้ในเชียงใหม่ หลายๆ คนอาจนึกถึงงานเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ต่าง เตียง ตู้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ชิ้นใหญ่ๆ แต่วันนี้เราจะชวนไปทำความรู้จักกับ “วงศ์พิทักษ์” ผู้ผลิตที่นำไม้มะม่วงมาสร้างสรรค์งานไม้ชิ้นเล็กๆ ให้เป็นของที่ระลึก ของใช้ในบ้าน ที่ทั้งเป็นของใช้และเป็นของตกแต่งบ้านที่สวยงามไปในตัว ไปดูกันว่าเส้นทางการทำงานคราฟต์ของ คุณพิทักษ์ และคุณวนิดา อินทวงศ์ นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร
มือจา คือชื่อสตูดิโอทำเฟอร์นิเจอร์แฮนด์เมด จากไม้เก่าที่ออกแบบและลงมือทำด้วยตัวเองทุกกระบวนการของ ปูน - ระพีพัฒน์ แก้วทิพย์ หนุ่มเชียงใหม่ผู้ไปร่ำเรียนไกลถึงเมืองกรุง หลังเรียนจบทางด้านการออกแบบในสาขาสถาปัตยกรรมไทยก็พบว่า ตัวเองไม่ได้ชอบสายงานด้านนี้ จึงกลับมาอยู่บ้านซึ่งตรงกับช่วงโควิดพอดี สิ่งที่ทำได้คือนั่งดูยูทูปไปเรื่อยๆ จากความชอบงานไม้เป็นทุนเดิม ยิ่งดูก็ยิ่งดำดิ่งลงไปในโลกของงานไม้ มารู้ตัวอีกที โรงรถของที่บ้าน ก็กลายเป็นเวิร์กช็อปขนาดย่อมที่มีอุปกรณ์พร้อมสรรพไปเสียแล้ว