sa'lahmade

ภาชนะ

      ภาชนะ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นนอนเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น แก้ว จาน ชาม แจกัน กาน้ำชา แก้วกาแฟ และภาชนะเหล่านี้ก็สามารถสะท้อนบุคลิกและรสนิยมของผู้ใช้ได้ด้วยเช่นกัน คุณโกมล คงเจริญ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ “ภาชานะ” เป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญ

กับภาชนะที่เขาใช้ และหลงใหลในความงามที่เรียบง่ายของเซรามิก จากความชอบกลายเป็นแรงผลักดันให้อยากลองทำ จากพื้นฐานที่ร่ำเรียนมาทางด้านปฏิมากรรมและภาพพิมพ์ หันเหมาเป็นนักปั้นเซรามิกหรือศิลปินผู้สร้างวัตถุจากดินอย่างเต็มตัว หากสังเกตโลโก้ของ “ภาชานะ”  

ที่เป็นภาพกาน้ำและมีลายเส้นของภาชนะอื่นๆ อยู่ในกา ซึ่งก็คือกาน้ำชาใบแรกที่เกิดจากฝีมือการปั้นของเขา นั่นเป็นสิ่งที่บ่งบอกจุดเริ่มต้น

และสะท้อนความเป็นตัวตนของคุณโกมลได้เป็นอย่างดี ส่วนชื่อแบรนด์ “ภาชานะ”  มีที่มาจากการผสมผสานคำว่า “ภาชนะ” และ “กาน้ำชา”  ที่เขาชื่นชอบนั่นเอง 

      เส้นทางของ “ภาชานะ” ไม่ง่ายนัก เนื่องจากเขาไม่ได้มีพื้นฐานความรู้ด้านเซรามิกมาก่อนเลย และเริ่มกิจการในช่วงที่งานอุตสาหกรรม

เซรามิกกำลังซบเซา คือในปี 2547  ในขณะที่หลายคนค้านว่าเป็นช่วงขาลงแต่เขากลับคิดต่าง เขาอยากทำงานเซรามิกที่เป็นงานทำมือ 

และเป็นงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร เน้นเรื่องความงามที่เรียบง่ายแต่มีดีไซน์  เกือบ 20 ปีที่เขาคลุกคลีกับงานจนรู้สึก

ว่าการทำงานของเขาเหมือนการประพันธ์หนังสือ พอเข้าใจในไวยากรณ์ก็สามารถหยิบจับมาผูกเป็นเรื่องราวได้อย่างง่ายดาย สนุกและคิด

งานได้อย่างไร้ขีดจำกัด จินตนาการชิ้นงานแล้วก็ลงมือทำเลย ยิ่งทำยิ่งสนุก  “งานของผมเป็นงานที่ทำขึ้นมาแต่ละชิ้นเพื่อคนๆ เดียว และคน

ที่ได้ชิ้นงานไปจะรู้สึกได้ถึงความพิเศษนี้ “ คุณโกมล กล่าวด้วยน้ำเสียงที่บ่งบอกถึงความสุขของผู้สร้างสรรค์ผลงาน 

      อีกมุมหนึ่งเขามองว่าการสร้างผลงานคือการอยู่กับตนเอง แต่หากอยู่กับตัวเองมากเกินไป ก็จะเชื่อมโยงกับผู้คนไม่ได้ การทำงานจะยิ่งยาก ประกอบกับมีคำถามมากมายถึงเรื่องราคา คุณภาพ ที่มาของการออกแบบ ฯลฯ แรกๆ ก็ใช้วิธีการบอกเล่า ซึ่งบางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะบอกกล่าวให้ลูกค้าเข้าใจ เขาจึงเปิดบทสนทนากับผู้คนผ่านการปฎิบัติจริงหรือเวิร์คช้อป ซึ่งนอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แล้ว 

มันยังเป็นคำตอบให้ลูกค้าได้เข้าใจด้วยตนเองว่าทำไมงานแต่ละชิ้นจึงมีราคา มีคุณค่าน่าหลงใหล มีความยากง่าย หรือมีเสน่ห์อย่างไร 

ขณะเดียวกันการสร้างปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าในลักษณะนี้ก็กลายเป็นแรงกระเพื่อมให้เขายิ่งรู้สึกสนุก มีโจทย์ใหม่ๆ และท้าทายความสามารถ

ของเขามากขึ้นด้วยเช่นกัน  

      ชิ้นงานของภาชานะแต่ละชิ้นจะมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ทั้งมิติของรูปทรง การให้สีที่สะท้อนถึงแนวคิดของแต่ละชิ้นงาน จังหวะ

การทับซ้อนของสีเคลือบที่ทำให้ชิ้นงานดูน่าสนใจและแตกต่าง นอกจากนี้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจ

ที่คุณโกมลนำมาถ่ายทอดผ่านชิ้นงาน เช่น การนำวิธีเข้าเดือยสลักด้วยไม้หรือทองเหลืองมาใช้ในส่วนหูจับ ,วัฒนธรรมการทานอาหาร

ของชาวล้านนาที่เรียกว่าขันโตก หรือภาชนะที่ใช้วัสดุท้องถิ่นอย่างใบตองและเข็มกลัดไม้ ก็ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นชิ้นงาน จนเป็นผลงาน

ที่ได้รับรางวัล Chiang Mai Design Awards  นอกจากนี้ก็ยังมีผลงานที่สะท้อนความสนุกสนานผ่านชิ้นงาน เช่น กาน้ำชาที่ใช้วิธีรินน้ำชา

ด้วยการโยกกาแบบไม่ต้องยก หรือการถอดสลักเปลี่ยนหูจับได้ตามชอบ เป็นต้น  ซึ่งหลายๆ ชิ้นงานไม่เพียงแต่เป็นของใช้ แต่ยังใช้ใน

การตกแต่งบ้านได้อีกด้วย  

      หากต้องการสัมผัสผลงานของ ภาชานะสตูดิโอ หรืออยากทดลองสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง แวะไปเยี่ยมเยือนหรือสนทนากับคุณโกมล

ได้ที่สตูดิโอในโครงการบ้านข้างวัด กันได้เลยนะคะ

แกลลอรี่

ภาชนะ

ที่ตั้ง : 191 หมู่ 5 ต.สุเทพ อ.เมือง เชียงใหม่ 50200

เวลาทำการ : 9:00-17:30 น. หยุดทุกวันอาทิตย์ 

โทรศัพท์ : 093-2515291

Website :  www.pachanastudio.com 

Email: [email protected]

Facebook : Pachana Studio 

Instagram: pachana_studio